google.com, pub-6706871631273490, DIRECT, f08c47fec0942fa0 วิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ชูPizza Model SMEs ยุกวิกฤต แนวคิดจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ - EVENT96.NET

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ชูPizza Model SMEs ยุกวิกฤต แนวคิดจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์

  ระดมยักษ์ใหญ่สร้าง  พิซซ่า โมเดลปฎิรูปอุตสาหกรรม SMEs  
สู้วิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง    


                เมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  ที่ผ่านมานี้  - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม  ร่วมกับสมาคมธุรกิจไม้  จัดสัมมนาในหัวข้อ “Pizza Model” โมเดลความอยู่รอดอุตสาหกรรม SMEs เพื่อการอยู่รอดอย่างสร้างสรรค์รับมือ AEC  และ การค้าชายแดนตอบโจทย์ทุกวิกฤติทั้งเศรษฐกิจ และการเมือง  โดยภายในงานผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกูรูชั้นนำด้านอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ คุณวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ  รองประธานสภาอุตสาหกรรม ,คุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธาน TDRI, คุณสนั่น  อังอุบลกุล  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  และคุณบุญชัย โชควัฒนา ประธานบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ณ ห้อง Meeting room 3 - 4   ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์   โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ และ  คุณอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงาน ซึ่งภายในงานได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการSMEs เข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก  ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่
                        

  และที่สำคัญจากความร่วมมือของทุกฝ่ายระดมสมองเพื่อหาทางออกธุรกิจ SMEs จนได้เกิด  พิซซ่า โมเดล (Pizza  Model)  ขึ้น ประกอบด้วย 6 แนวทาง ได้แก่ 
1.​เลือกพัฒนาธุรกิจให้เด่นเฉพาะทาง  (Niche Development)
2.​มุ่งสู่ทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Mindset)
3 ปรับวินัย และระบบสร้างสภาพคล่องทางการเงิน  (Smart Finance)
4​กลยุทธ์เครือข่ายธุรกิจเพื่อความอยู่รอด (Network Strategy)
5.​พร้อมเป็นนักฉวยโอกาส ขยายตลาดธุรกิจ (Opportunist)

6.​ธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้อง ถูกกฏหมาย ยุติธรรม (Right Mindset)  


    
 โดยโมเดลดังกล่าวคาดว่าจะสามารถสร้างความรู้แก่ SMEs ภาคอุตสาหกรรมไทย   ในภาพรวม  รวมถึงตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพร้อมปรับตัวตามเทคโนโลยีที่ทันสมัย  และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนในการประกอบธุรกิจในสภาวะฉุกเฉิน  ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ  อันจะนำไปสู่การสร้างอำนาจการต่อรองแก่ผู้ประกอบการ  
  

           คุณวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ  รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวทาง การสร้างโอกาสทางธุรกิจ (Opportunity ของ SMEs ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวทางอื่นๆอีก 5 แนวทาง เพื่อให้รับกับยุค AEC โดยSMEs นั้นมีโอกาสที่สามารถขยายช่องทาง  หรือโอกาสทางการค้าได้  โดยเฉพาะช่องทางการค้าชายแดน  เนื่องจากประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นระยะทางยาวกว่า 5,300 กิโลเมตร อีกทั้งทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาค และมีระบบคมนาคมเชื่อมโยงอย่างทั่วถึง การรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนจะทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น  สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร (GSP) ที่ประเทศเพื่อนบ้านได้รับ เอื้ออำนวยต่อการใช้เป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกไปประเทศที่สาม กลุ่ม ASEAN และ GMS มีตลาดที่มีขนาดใหญ่มากประเทศเพื่อนบ้าน มีต้นทุนวัตถุดิบ และแรงงานต่ำกว่าประเทศไทย  และประเด็นที่สำคัญมากคือ มีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น GMS, BIMSTEC, ACMECS และ IMT-GT เป็นต้น  ยิ่งปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากราชการประจำโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งนำโดย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรม SMEs โดยผ่านช่องทางหน่วยงานที่สังกัด  ยิ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ อุตสาหกรรม SMEs มีโอกาสแข่งขันทางการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่ง พิซซ่า โมเดล จะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเอง เพื่อพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆให้ทันโลกทันเหตุการณ์ในยุคปัจจุบันนี้   
                           


                   ทางด้าน นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ นายกสมาคมธุรกิจไม้ และ ประธานสภาผลิตภัณฑ์ไม้แห่งอาเซียน กล่าวว่า จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี 2555 ประกอบกับวิกฤตการเมืองในประเทศ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมนำเข้าและอุตสาหกรรมเพื่อผลิตและจำหน่ายในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ SMEs ของไทย ทำให้ยอดขายทั้งปีเฉลี่ยลดลงร้อยละ 15-20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนให้มีการชะลอตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะ SMEs ของอุตสาหกรรมไม้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภาคการส่งออกอาจทรงตัวหรือขยายตัวลดลงไปจนถึงกลางปีนี้เลยทีเดียว ซึ่งปัญหาใหญ่ของ SMEs อุตสาหกรรมไม้ นอกจากจะมีแนวโน้มทรงตัวและลดลงแล้ว ต้นทุนการผลิตยังสูงขึ้น ซึ่งธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อยซึ่งขาดอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์กลางน้ำและต้นน้ำ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น   อีกทั้ง ค่าขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าราคาแพงมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลง ขณะเดียวกันลูกค้าต่างประเทศก็ไม่มั่นใจในเสถียรภาพของกิจการ จึงทำให้กำลังซื้อหยุดชะงัก ส่งผลต่อเนื่องสู่ปัญหาการขาดสภาพคล่อง เกิดเป็นภาวะหนี้สะสม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมไม้  ดังนั้น ภาครัฐจึงมีส่วนสำคัญในการออกมาตรการด้านการเงินแก่กลุ่ม SMEs เพื่อช่วยสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ย่างแท้จริง อาทิ ปรับกฎระเบียบของธนาคารให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น จัดโครงการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ เช่นเดียวกับที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดกิจกรรมสัมมนา “พิซซ่า โมเดล ในครั้งนี้ ที่ภาครัฐและเอกชนเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต จึงต้องมาร่วมกันหาทางออกและขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของ SMEs ของไทย เพื่อการการพัฒนาอุตสาหกรรม SMEs ไทยอย่างยั่งยืน    




             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here