เมื่อวันที่25มีนาคม57 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.)เร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม รับมือการขาดแคลนแรงงานในอนาคตจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AEC) จึงจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา ควรสร้างความร่วมมือในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมรายสาขาต่างๆทั้งนี้ กสอ. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมาอย่างต่อเนื่องเพราะบุคลากรที่มีคุณภาพย่อมเป็นรากฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า นำเป็นอุตสากรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่อุตสาหกรรมฟอกหนังของไทย ซึ่งอุตสาหกรรมต้นน้ำที่นำไปสู่การแปรรูปหนังเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลายอาทิ เครื่องหนัง กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เบาะรถยนต์ และแคปซูนบรรจุยาฯลฯ ยังคงมีปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีแรงงานฟอกหนังประมาณ 180 แห่ง สามารถผลิตหนังฟอกได้ประมาณ 8,000 คน ซึ่งปัญหาประการหนึ่งคือด้านขาดแคลนแรงงานมีฝีมือทั้งบุคลากร และนักออกแบบที่มีคุณภาพ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตกรมส่งออกอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการในการเร่งพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมฟอกหนัง โดย กสอ. มีบทบาทในการสนับสนุนและประสานงานระหว่างสมาคมและต่างๆในอุตสาหกรรมฟอกหนังกับสถานศึกษา ส่วนสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย ทำหน้าที่เป็นสถานปฎิบัติงานให้แก่นักศึกษา และรับนักศึกษาเข้าทำงานเมื่อจบการศึกษา ส่วนวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นการผลิตบุคคลาการจากสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผู้เรียนจะได้เรียนเชิงทฎษฎีประมาณ2วัน และฝึกในโรงงาน3วัน ทั้งนี้นักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานในโรงงานต่างๆเมื่อจบการศึกษาแล้วกรันตีได้ว่าจะมีงานรองรับอย่างแน่ โดยตั้งเป้าผลิตบุคคลกรได้ปีละไม่ต่ำกว่า50คน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า
ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เมื่อเปิดประตูการค้า AEC
คือการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ซึ่งเมื่อเข้าสู่ AEC
จะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีมากขึ้น
เนื่องจากประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนแนวการเติบโตทางเศษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับปัจจุบัน
ประเทศคู่แข่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนำความรู้ใหม่ๆเข้ามาใช้ในกระบวนการการผลิตและออกแบบมากขึ้น
แต่กลุ่มอุตสาหกรรมรายย่อยสาขาของไทย โดยเฉพาะ SMEs
ส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การออกแบบ และการนำความรู้ใหม่ๆ
มาใช้ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง ด้วยเหตุนี้
จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงายภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา
ควรสร้างความพร้อมในการผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพเพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม สาขาต่างๆรองรับการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ซึ่ง
กสอ. ก้อได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมาอย่างต่อเนื่อง
หากบุคลากรมีความรู้ความสามารถย่อมมีโอกาสในการขยายกิจการของภาคอุตสาหกรรม เพราะบุคลากรที่มีคุณภาพไม่ว่าจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมใด
ถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไทยทั้งสิ้น
อุตสาหกรมเครื่องหนังและรองเท้า
นับเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ติดอันดับท๊อปเท็นของประเทศสามารถนำรายได้เข้าประเทศปีละ
1 พันล้านเหรีญสหรัฐฯ
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกหนังของไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญในการผลิตและแปรรูปหนังให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆตามความต้องการของตลาด
และเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
จึงร่วมกันเร่งพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมฟอกหนัง โดย กสอ.
จะให้การสนับสุนนด้านงบประมาน และเป็นแกนกลางในการประสานงานกับโรงงานฟอกหนังต่างๆ
กับวิทยาลัยฯเพื่อพัฒนานักศักษาให้ได้รับความรู้เฉพาะทางก่อนก้าวเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาที่ใกล้จบมีสถานประกอบการรองรับเข้าทำงานทันที
และที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงางนได้อีกด้วย
นางปรานี คุรุเวฬุกรณ์ นานยกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย
กล่าวว่า
อุตสาหกรรมฟอกหนังเป็นอุตสาหกรรมทางเกษตร (Agro-lndustry) ประเภทหนึ่ง โดยการนำสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น โค กระบือ และจระเข้ เป็นต้น
มาผลิตเพื่อก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
ด้วยการนำหนังมาฟอกเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมที่เกียวเนื่องอื่นๆ
อาทิ เครื่องหนัง กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เบาะรถยนต์
ของเล่น เจลราติลและแคปซูนบรรจุยา เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมฟอกหนังเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สามรถเกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ได้หลากหลาย จึงส่งผลให้ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดแคลนบุคลากรในภาคการผลิต
โดยปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมฟอกหนังประมาน 180 แห่งสามารถผลิตหนังฟอกได้ประมาณ
151,000 ต้นต่อปี มีแรงงานกว่า 8,000
คน (ที่มา:สมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย)อย่างไรก้อตามอุตสาหกรรมฟอกหนังของไทยยังคงมีความต้องการแรงงานมีฝีมือในโรงงานอีกมากทั้งบุคคลากรและนักออกแบบที่มีคุณภาพ
เนื่องจากอุตสาหกรรมของไทยเริ่มมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากเดิมเน้นการใช้แรงงานและมีการสร้างมูลค่าเพิ่มต่ำ
ไปสู่การผลิตแบบพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยจำเป็นต้องเร่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
มากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
นอกจากนี้
ปัญหาที่พบในอุตสาหกรรมฟอกหนังอีกประการหนึ่งคือมีแรงงานที่เป็นชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก
อาจเกิดการขาดแคลนแรงงานขึ้นได้ เนื่องจากแรงงานต่างชาติ
มีการโยกย้ายแรงงานไปประเทศอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า
นายจารุพันธ์
จารโยภาส ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเรือน กล่าวว่า “กิจกรรมในวันนี้
เป็นกิจกรรมที่ทาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
จัดขึ้นก็เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
โดยสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ด้านการฟอกหนังของไทย
ที่มียอดการผลิตต่อปีสูงมากแต่ประเทศไทยเรายังขาดช่างฝีมือด้านนี้ หากมีความร่วมมือช่วยเหลือกันของทุกภาคส่วนและมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในอุตสาหกรรม
สามารถดึงจุดเด่นของอุตสาหกรรมฟอกหนังไทยออกมาได้ จะทำให้อุตสาหกรรมฟอกหนังไทยสามารถเข้าสู่ธุรกิจ
SMEs และต่อยอดเข้าสู่ตลาดAECได้ในอนาคต
ไม่แพ้ประเทศอื่นแน่นอน ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมฟอกหนังไทยในอดีตจะมีปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างโรงงานและสังคม
แต่ปัจจุบันสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
จากการเปิดกว้างความรู้ให้กับบุคคลทั่วไปให้มีความเข้าใจในขั้นตอนการผลิต
เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบโรงงาน
โดยปัจจุบันโรงงานได้แก้ไขปัญหาโดยการปรับปรุงโรงงานและการผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
ปรับเปลี่ยนระบบบำบัดน้ำเสีย ลดกลิ่นสารเคมี สิ่งเหล่านี้ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มีการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
”
นายอนันต์ งามสะอาด ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการเป็นหนึ่งในสถานศึกษาเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาที่เกียวข้องกับอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยเปิดสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมฟอกหนัง
เพื่อการผลิตบุคคลากรที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยเฉพาะ
โดยสาขาดังกล่าว เปิดมาแล้ว7 ปี มีนักศึกษาสนใจเลือกเรียนสาขานี้ประมาณปีละ 20-30
คน สำหรับความร่วมมือครั้งนี้วิทยาลัยฯ
มีหน้าที่ในการผลิตนักศึกษาป้อนสู่โรงงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
และให้ความรู้ในเชิงวิชาการแก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยรูปแบบการเรียนการสอน
ประกอบด้วยภาคทฤษฎี จำนวน 2 วัน และฝึกงานที่โรงฟอกหนัง 3 วัน
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้จาดทฤษฎีควบคู่ไปกับการลงมือทำงานจริง
โดยหลังจากที่นักศึกษาเรียนจบโรงงานนั้นๆก้อจะรับเข้าทำงานทันที
ซึ่งเป็นการการันตีว่านักศึกษาจะมีงานทำอย่างแน่นอน
นอกจากกิจกรรมเตรียมความพร้อมบุคคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมฟอกหนังที่กล่าวมาแล้วในวันนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอีก
2 กิจกรรม ดังนี้
-กิจกรรมพัฒนาบุคลากรผู้บริหารการผลิตระดับกลางด้านอุตสาหกรรมฟอกหนัง เพื่อสร้างหัวหน้างานในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้
ความเข้าใจในทักษะการบริหารงานสมัยใหม่
และบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพสามารถเปลี่ยนแนวทางจากการผลิตโดยนวัตกรรมใหม่ๆมีคุณภาพที่ดีซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันในตลาดการค้าได้
โดยมีเป้าหมายจำนวน 25 คน
-กิจกรรมพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่AEC
ด้านอุตสาหกรรมเครื่องหนังเพื่อพัฒนาบุคคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้รู้จักการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน
เกิดการพัฒนาบุคลากรอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
และเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรให้มีความรู้ความมั่นใจในการก้าวสู่AECต่อไปโดยมีเป้าหมายจำนวน 100 คน
สำหรับผู้ประกอบการ
นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเรือน
และสวนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง โทรศัพท์ 02-367-8288 และ 02-367-8253
หรือเข้าไปที่ http://bisd.dip.go.th/ หรือต้องการเข้าร่วมโครงการต่างๆของกรมฯสามารถสอบถามได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น